การจัดการชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียน รหัสวิชา 1063101
อาจารย์ผู้สอน อ.อภิชาติ วัชรพันธุ์

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร

มาตรฐานวิชาชีพ  คือ จุดมุ่งหมายหลัก ที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจบนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ   มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
1.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู  มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
        มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
                - ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
                - การพัฒนาหลักสูตร
                - การจัดการเรียนรู้
                - จิตวิทยาสำหรับครู
                - การวัดและประเมินผลการศึกษา
                - การบริหารจัดการในห้องเรียน
                - การวิจัยทางการศึกษา
                - นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
                - ความเป็นครู
 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน จะมีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
      - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
      - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
      - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
      - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
      - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
      - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
      - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
     - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
     - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                 - จรรยาบรรณต่อสังคม    
การนำไปประยุคใช้  
     เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น