การจัดการชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียน รหัสวิชา 1063101
อาจารย์ผู้สอน อ.อภิชาติ วัชรพันธุ์

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินการใช้บล็อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1.นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ การทำงานส่งทางบล็อกเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้จักการหาข้อมูลที่หลากหลาย มีการรวบรวมความคิดเป็นของตนเอง เปิดอ่านได้ง่าย ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำรูปแบบ
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ จากการได้สร้างบล็อกทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.            รูปแบบและวิธีการสร้างบล็อก
2.            การนำเสนอภาพแบบสไลด์โชว์
3.            การลิงค์ข้อมูล
4.            การนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Sothink SWF Easy
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบ  การเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นสิ่งที่มีความสะดวกอย่างมาก เพราะสามารถนำเสนองานได้หลายรูปแบบ  มีความน่าสนใจในเนื้อหา สามารถใส่รูป และวีดีโอได้ตามใจชอบ และที่สำคัญข้อมูลของเราไม่มีทางหายอย่างแน่นอน
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
ตอบ มากที่สุด

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1.Classroom Management
ตอบ (Classroom Management) หมายถึง การจัดการชั้นเรียนโดยยึดหลักการดังนี้

-   การสร้างวินัยที่มีประสิทธิผล
-    การเตรียมการชั้นเรียน
-   การจูงใจนักเรียน
-  การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
-    การจัดสภาพการเรียนทางบวก
-    การสร้างการยอมรับนับถือตนเอง
-   การสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
Classroom Management  ช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างความพึงพอใจและความสนุกสนานนำมาสู่ความร่วมมือในการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นความสัมพันธ์สูงสุดของการเริ่มต้นในการสอนของครู
2. Happiness Classroom  
ตอบ Happiness Classroom  หมายถึง การจัดห้องเรียนให้มีความสุขโดยครูกับนักเรียนต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดผลดีต่อผู้เรียนและผู้สอน
3. Life-long Educationการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตอบ (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4.formal Education  การศึกษาในระบบ
ตอบ (Formal Education)หมายถึง การศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ
5. Non-formal education การศึกษานอกระบบ
ตอบ  Non-formal education หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
6. E-learning   
ตอบ E-learning    หมายถึง การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7. Graded
ตอบ Graded  หมายถึง การเรียนระดับชั้น  คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก     
8. Policy education
ตอบ  Policy education หมายถึง นโยบายการศึกษา สมารถทำได้ดังนี้
1.ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา
2.ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ
 3.พัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ได้ครูดีครูเก่งมีคุณธรรมมีคุณภาพและลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
 4.จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี๑๕ปีตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย
 5.ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ
6.ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืม
7. ส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
8.เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษา
9. Vision วิสัยทัศน์
ตอบ Vision หมายถึง ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคตโดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้
10. Mission พันธ์กิจ
ตอบ Mission หมายถึง มีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธะกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals เป้าหมาย
ตอบ Goals  หมายถึง สิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
12. Objective
ตอบ Objective  หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13.backward design
ตอบ backward design หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14.effectiveness
ตอบ effectiveness  หมายถึง การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง
15. efficiency
ตอบ efficiency หมายถึง การทำงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อตนเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี
16.Economy เศรษฐกิจ
ตอบ  Economy หมายถึง  การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค
17. Equity
ตอบ Equity  หมายถึง   ความเสมอภาพ
18. Empowerment  
ตอบ Empowerment   หมายถึง การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement  
ตอบ Engagement หมายถึง การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20 project   
ตอบ roject หมายถึง เช่นโครงการ, โครงการวิจัย กิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์วางแผนและนำไปปฏิบัติพร้อมทั้งมีลักษณะแจ้งชัดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดโดยแผนสำหรับกิจการต่างๆต้องระบุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนด
21.Actives
ตอบ Actives  หมายถึง การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา
22.Leadership
ตอบ Leadership  หมายถึง ความสามารถในการเป็นผู้นำ หรือการทำให้ผู้อื่นเป็นผู้ตามที่ดีได้อย่างมีคุณภาพ

23. leaders
ตอบ leaders  หมายถึง ผู้นำ
24. Follows 
ตอบ Follows หมายถึง ผู้ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations 
ตอบ Situations หมายถึง สถานการณ์
26. Self  awareness  การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้
27. Communication   การสื่อสาร
ตอบ (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร  มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness
ตอบ  Assertiveness หมายถึง การยืนยันในความคิดตน พฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์เชิงบวกเพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม
29. Time management
ตอบ Time management  หมายถึง การบริหารเวลา คือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30.  POSDCORB
ตอบ POSDCORB  หมายถึง หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ การวางแผน   การจัดองค์การ การบรรจุ  การสั่งการ  การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ
31. Formal Leaders
ตอบ Formal Leaders  หมายถึง  ผู้บังคับบันชาในหน่วยงานต่างๆ เป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูด
32. Informal Leaders
ตอบ Informal Leaders  หมายถึง ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานเพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหรือให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ
33. Environment 
ตอบ Environment  หมายถึง ความสามารถเชิงสมรรถนะหรือสมรรถนะหมายถึงคุณลักษณะทั้งในด้านทักษะความรู้และพฤติกรรมของบุคคลที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงานที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Globalization  
ตอบ Globalization   หมายถึงโลกาภิวัตถ์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้นคือสภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันจนเกิดแบบแผนและพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
35. Individual Behavior
ตอบ  Individual Behavior หมายถึง พฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การจูงใจ

36. Organization Cultural  วัฒนธรรมองค์กร
ตอบ Organization Cultural  หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน บุคลิกภาพ” (Personality) หรือ จิตวิญญาณ” (Spirit) ขององค์การ

37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร
            ตอบ (Organization Behavior) หมายถึง รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้

Group Behavior  พฤติกรรมกลุ่ม
ตอบ   (Group Behavior) หมายถึง พฤติกรรมกลุ่ม นอกจากจะศึกษาระดับกลุ่มบุคคลแล้ว อีกระดับหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยี การจัดการสภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนพฤติกรรมที่หน่วยงานกำหนดให้ทำ และพฤติกรรมที่ต้องทำเร่งด่วน ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยกะทันหัน เช่น หน่วยงานมีนโยบานที่จะเร่งปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ก็อาจจะประกาศหน้าที่ความรับผิดชอบขึ้นใหม่ ผลของพฤติกรรมของกลุ่มนี้จะมีผลต่อผลผลิต ความพึงพอใจ การพัฒนาบุคคล และประสิทธิภาพขององค์กร
38. Team working
ตอบ  Team working หมายถึง การทำงานเป็นทีมเป็นวิธีที่ดีในการดึงขีดความสามารถของบุคคลมาใช้ทีมที่มีสมรรถนะการทำงานสูงต้องมีความเชื่อถือไว้ใจซึ่งกันและกันระหว่าสมาชิกในทีม
39. Six Thinking Hats
ตอบ Six Thinking Hats  หมายถึง หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้
                        1.สีขาว(Information) หมวกใบนี้จะหมายถึง ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น
                         2.สีแดง(Feelings) หมวกใบนี้จะหมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งๆนั้น
3.สีเขียว(Creativity) หมวกใบนี้จะหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์
4.สีเหลือง(Benefits) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองโลกในแง่ดี
5.สีดำ (Judgment) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองตรงกันข้าม
6.สีน้ำเงิน(Thinking about thinking) หมวกใบนี้จะหมายถึง การจัดการความคิดทั้งหมด
 40. Classroom Action Research   
ตอบ Classroom Action Research    หมายถึง การวิจัยในชั้นเรียน เรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไปหรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่นๆ




วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบ

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
            ตอบ (Classroom Management) หมายถึง การจัดการชั้นเรียนโดยยึดหลักการดังนี้

-                  การสร้างวินัยที่มีประสิทธิผล

-                  การเตรียมการชั้นเรียน

-                  การจูงใจนักเรียน

-                  การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย

-                  การจัดสภาพการเรียนทางบวก

-                  การสร้างการยอมรับนับถือตนเอง

-                  การสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
               Classroom Management  ช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างความพึงพอใจและความสนุกสนานนำมาสู่ความร่วมมือในการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นความสัมพันธ์สูงสุดของการเริ่มต้นในการสอนของครู


2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ มาตรฐานวิชาชีพครู    เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพ คุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน  ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 กล่าวคือ
1. มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน 

มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ว่า ความรู้  ครูต้องมีความรู้ในเรื่อง ดังนี้    
1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู    
2.  การพัฒนาหลักสูตร    
3.  การจัดการเรียนรู้    
4.  จิตวิทยาสำหรับครู    
5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา    
6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน      
7.  การวิจัยทางการศึกษา    
8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา    
9. ความเป็นครู

ประสบการณ์  ผู้จะเป็นครูต้องมีประสบการณ์ ดังนี้
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพ(คุรุสภา) รับรอง หรือ
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด 

มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ             
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์        มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์

มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ จรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู               
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9) ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย 

มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังกล่าวข้างต้น

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
หลักการแนวคิดในการจัดการชั้นเรียน
ตอบ การจัดการชั้นเรียนเป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับ ดูแลสร้างกฎระเบียบ ข้อตกลงในชั้นเรียน การจัดการพฤติกรรมของนักเรียน การแก้ไขปัญหาร่วมกันในชั้น เรียน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี ห้องเรียนมีลักษณะยืดหยุ่น เป็นแหล่งวิชาการ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมชีวิตแบบประชาธิปไตย ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับเอกสารประจำชั้น

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในบริเวณโรงเรียน

            ตอบ การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ สวนหย่อม ไม้ดอก ไม้ประดับสนามเด็กเล่น ฯลฯ ต้องพร้อมที่จะให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ นอกจากนั้นปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในโรงเรียนกับนักเรียนกับผู้ปกครองนักเรียน และกับบุคลากรในโรงเรียนด้วยกันต้องเป็นไปในทางที่ดี เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย อาคารเรียนสะอาด น่าอยู่ มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย  มีการตรวจสภาพสื่อการเรียน และอุปกรณ์การเรียนทุกเดือน 

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ตอบ คุณภาพของผู้เรียน เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดบรรยากาศและสภาพ แวดล้อม ที่ดี การบริหารจัดการที่ดี และการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีประสิทธิภาพของโรงเรียน ซึ่งมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา  พัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกาย  ตลอดจนการแสดงออกทางหน้าตาท่าทางถึงความสุขในการเรียนของผู้เรียน
ตัวอย่างผู้เรียนที่มีคุณภาพ
๑.     มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ มาตรฐานที่ตั้งไว้
๒.   การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๓.   การทดสอบทางการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๔.   ผ่านการทดสอบทางการศึกษา ระดับท้องถิ่น) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๕.   คุณลักษณะอันพึงประสงค์จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ

6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ     การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรม
การจัดการเรียนรู้แบบConstructionism เป็นแนวที่เน้นให้ผู้เรียน สร้างองค์ความรู้ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติโดยการทำโครงงาน บูรณาการด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปะ วัฒนธรรม ความเป็นไทย ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ ผ่านโครงงานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จากการปฏิบัติจริงในเรื่องที่ตนเองสนใจ และบูรณาการวิชาการต่าง ๆ แล้วยังมุ่งพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ให้กับผู้เรียน ดังนี้
IQ (Intelligence Quotient) พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในกระบวนการคิด การเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดเพิ่มขึ้น และสนใจใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
EQ (Emotional Quotient) พัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีสติดีอยู่เสมอ และมีความมั่นคงทางอารมณ์
AQ (Adversity Quotient) พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาและการเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้ดี
TQ (Technology Quotient) พัฒนาผู้เรียนให้มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี และเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับความต้องการ
MQ (Morality Quotient) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย เข้าไปในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้จนติดเป็นนิสัยแนว Constructionism เป็นการพัฒนาเด็กให้เป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี มีคุณธรรม สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุขในโลกยุคใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงและกว้างขวาง โรงเรียน จะต้องเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความคล่องตัวสูง ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างรวดเร็ว จึงมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีวินัย 5 ประการ ดังนี้
รู้จักตนเอง สามารถวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังคำกล่าวที่ว่า อ่านตนออก บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนชัด พัฒนาตนเอง อย่างสม่ำเสมอ
มีความที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล รับฟังความคิดที่แตกต่างของผู้อื่นได้ด้วยใจเป็นสุข
การผสานวิสัยทัศน์ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้ทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจทำงานให้ประสบความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน
การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สร้างทีมงานที่ทำร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบรรยากาศการทำงานอย่างเป็นกัลยาณมิตร
คิดเป็นระบบครบวงจร มองสิ่งต่าง ๆ เป็นองค์รวม เห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ ทำให้เข้าใจเหตุและปัจจัยขององค์กร เมื่อเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ก็จะสามารถร่วมมือร่วมใจกันรับมือและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ