การจัดการชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียน รหัสวิชา 1063101
อาจารย์ผู้สอน อ.อภิชาติ วัชรพันธุ์

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture) 
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย   
   เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)         
           ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
          ศิริพงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
    วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ เช่น (การลาออก) ทุเลาเบาลงและงานจะดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อวัฒนธรรมองค์การมีบทบาทภายในหน่วยงานหลายประการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจควบคู่กันไป
         กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
            กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
                        1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง     
2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 
 แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
            เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
  อ้างอิง  http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=1111

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ
          การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง      
การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
      
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
                1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
                2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
                3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
                4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
       ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครู
                1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
                2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
                3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
                เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเรา ได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียนและบรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถนำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้สอนกับนักเรียนหรือนักศึกษาและใช้ในชีวิตประจำวันได้


วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร

มาตรฐานวิชาชีพ  คือ จุดมุ่งหมายหลัก ที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจบนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ   มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
1.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู  มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
        มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
                - ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
                - การพัฒนาหลักสูตร
                - การจัดการเรียนรู้
                - จิตวิทยาสำหรับครู
                - การวัดและประเมินผลการศึกษา
                - การบริหารจัดการในห้องเรียน
                - การวิจัยทางการศึกษา
                - นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
                - ความเป็นครู
 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน จะมีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
      - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
      - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
      - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
      - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
      - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
      - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
      - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
     - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
     - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                 - จรรยาบรรณต่อสังคม    
การนำไปประยุคใช้  
     เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ



วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
สิ่งที่ได้รับ จากบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้
 
คำว่า ครูต้นแบบไม่จำเป็นที่จะได้รับคำยกย่องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อที่จะได้คำๆ นี้มา ขอแค่ครูสอนให้รู้
ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ และทำให้ศิษย์มีแรงบัลดาลใจ ให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน กระตุ้นให้มีการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม และ รู้สึกศรัทธาเชื่อมันในตัวครู แค่นี้ก็ถือว่าเป็น ครูต้นแบบได้แล้ว เพราะการศึกษาย่อมเกิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ก็จะดีต่อเนื่องไป
การนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
 ๑.ทำให้รู้สึกว่า คำว่าครูนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับเด็ก ดังนั้น อนาคตข้างหน้าจะเป็นครูที่ดี ที่สามารถทำให้เด็กศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวครูให้ได้
๒.ถึงจะเหนื่อยยากเพียงใด ก็จะฝ่าฝันอุปสรรค์นั้นให้ได้ เพื่อให้ได้มาซึ้งคำว่า ครู
            ๓.จะพยายามทำตนให้ดีที่สุด แม้จะไม่มีใครเรียกว่า ครูต้นแบบ


กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
สรุป บทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
                ผู้ที่เป็นผู้นำได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและจะต้องเป็นผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฎฐิ) และทัศนคติ การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ และเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ เพราะการบริหารงานนั้นอาศัยการทำงานเป็นทีม  เป็นระบบที่ประกอบด้วยจิตใจ จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ที่มิอาจถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด
                 ดั้งนั้นผู้นำควรที่จะสร้างความศรัทธาเพื่อที่จะทำให้เกิดความชอบ ความเชื่อ และการยอมรับในตัวบุคคลนั้นเพื่อให้ได้มาซึ้งความสำเร็จ  และคุณสมบัติของผู้นำอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มองเห็นประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน รู้จักการทุ่มเท และรู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่สามารถ  ซื้อใจ ผู้ตามได้

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ

ชีวิตและผลงาน
 
รองศาสตร์จารย์ ดร. ชำนาญ  รอดเหตุผล
ประวัติส่วนตัว
          ชื่อ รศ.ดร.ชำนาญ  นามสกุล   รอดเหตุผล
          สัญชาติ ไทย   เชื้อชาติ ไทย  ศาสนาพุทธ
          สังกัดคณะ      ครุศาสตร์
วุฒการศึกษา
          พ.ม. กศ.บ.เกียรตินิยมอันดับ ๑ (ภาษาไทย)
                  กศ.บ. (ภาษาและวรรณคดีไทย)
ที่อยู่ปัจจุบัน
          บ้านเลขที่ ๔๘๕ ถนนเกษตรสิน
          ตำบลลำพยา อำเภอเมือง จังหวัด นครปฐม ๗๓๐๐๐
          โทร. ๐-๓๔๒๕-๔๗๓๗
          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : rchamnan@gmail.com
ประสบการณ์สำคัญ
          ๑.อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
รวม ๓๖ ปี รองอธิบดีรวม ๑๒ ปี
          ๒.ประธาน กกต. และ กกต.จังหวัดนครปฐมรวม ๘ ปี
          ๓.ประธานกรรมการพัฒนา และบริหารหลักสูตรปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา
ผลงานวิชาการที่สำคัญ
๑.    วรรณกรรมไทยลื้อ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย
๒.   ประเพณีทำขวัญและมงคลพจน์ในพิธีแต่งงาน
๓.   การสัมมนาการใช้ภาษาในปัจจุบัน
๔.   การศึกษาเจตคติและความเข้าใจคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
๕.   พระราชอัจฉริยปรีญาแห่งพระมหากษัตริย์ไทย
ในการสร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม
๖.    การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการบริหาร
จัดการที่ดีของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม
๗.   การวิจัยทางภาไทย
๘.    พระอัจฉริยปรีชญาด้านภาษาและวรรณศิลป์
ผลงานและเกียรติยศที่ภาคภูมิใจ
๑.    อาจารย์สอนภาษาไทยคนแรกแก่อาสาสมัครเกหลี ณ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
๒.   หัวหน้าคณะวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยร่วมกับ
     CIOFF เผยแพร่  ณ ประเทศต่าง ๆ ทั้งเอเชียและยุโรป
๓.    ประธานกรรมการพัฒนาหลักสูตรไทยคดีศึกษา
     ระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
๔.   รางวัลโล่และประกาศเกียรติคุณ ครูภาไทยดีเด่น
     ระดับอุดมศึกษา
๕.   รางวัลงานวิจัยชนะเลิศ รับพระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุมาร
๖.    ผลงานวิจัยเกี่ยวกับพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมทั้งได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลงานวิจัยดังกล่าว
๗.   หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพรจ้าอยู่หัว พระอัจฉริยปรีชาญาด้านภาษาและวรรณศิลป์
ประเด็นที่ชอบ ดร. ชำนาญ   รอดเหตุผล
ดร. ชำนาญ   รอดเหตุผล เป็นผู้ที่มีความรอบรู้เรื่องวรรณคดีเป็นอย่างมากอีกทั้งยังเป็นครูภาไทยดีเด่นระดับอุดมศึกษา และท่านเป็นถึงประธานกรรมการพัฒนาหลักสูตรไทยคดีศึกษา ระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และที่สำคัญท่านสามารถเขียนงานวิจัยเฉลิมพระเกียรติ “พระอัจฉริยปรีชญาด้านภาษาและวรรณศิลป์” จนได้รับรางวัลงานวิจัยชนะเลิศ รับพระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร จนทำให้ดิฉันภาคภูมิใจกับผลงานของท่านเป็นอย่างมากเพราะในงานวิจัยมีทั้งความรู้และแนวปฏิบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้