การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
หัวใจสำคัญสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
จุดมุ่งหมายสำคัญที่ผู้เรียนต้องมี
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปก ครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. มีความสามารถในการสื่อสาร
2. มีความสามารถในการคิด
3. มีความสามารถในการแก้ปัญหา
4. มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะของผู้เรียน
- รู้จักการยอมรับ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำ
- มีความกระตือรือร้น กล้าแสดงความคิดเห็น กล้านำเสนอสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
- แสวงหาความรู้คำตอบอย่างมีเหตุผล
การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลาย ๆ อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยมีอิสรภาพทางความคิด
แนวคิดสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน ประกอบด้วย
- ความคิดคล่องแคล่ว
- ความคิดยืดหยุ่น
- ความคิดริเริ่ม
- ความคิดละเอียดลออ
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วย การอ่านคำควบกล้ำ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง คำควบกล้ำ เวลา 2 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
การออกเสียงควบกล้ำได้ถูกต้อง ชัดเจน มีผลทำให้การติดต่อสื่อสารได้ตรงตามเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. จำแนกประเภทของคำควบกล้ำแท้ และไม่แท้และออกเสียงได้ถูกต้อง ชัดเจน
2. บอกผลดี ผลเสียของการอ่านออกเสียง ควบกล้ำที่ชัดเจนและไม่ชัดเจน
3. เลือกคำควบกล้ำนำไปใช้ในการเขียนรูปแบบต่างๆ เชิงสร้างสรรค์ได้
สาระการเรียนรู้
- ลักษณะของคำควบกล้ำ
- คำควบกล้ำแท้ / คำควบกล้ำไม่แท้
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นสร้างความตระหนัก
1. สนุกกับเพลง ร , ล
เพลง ร,ล
เอ้อระเหยลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไป วันนี้เรามาสนุก เรามีความสุขกับภาษาไทย ตัว ร นั้นอยู่ข้างหน้า สระ อา ตามมา อ่านว่าอย่างไร ตัว ล นั้นอยู่ข้างหน้า สระ อา ตามมา อ่านว่าอย่างไร ตัว ป ตัว ล สระ อา เธอจ๊ะ เธอจ๋า อ่านมาเร็วไว พวงเจ้าเอ๋ยลำไยอ่านภาษาไทยให้ถูกต้องเอย
2. ผู้เรียนเล่นเกม “น้ำขึ้น น้ำลง” เพื่อสังเกตและจำแนกเสียง โดยผู้สอนพูดเป็นคำๆ เช่น ถ้าผู้สอนพูด
คำว่า “รัก” ผู้เรียนยืนขึ้น
คำว่า “ลัก” ผู้เรียนนั่งลง
ขั้นระดมพลังความคิด
3. ให้ผู้เรียนหาคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นตัว ร ล ว ให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดให้ ทำในใบงานหรือเขียนบนกระดานแข่งขันเป็นเกม มีคะแนนเป็นตัวกระตุ้นและเสริมแรง
4. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ เพื่อสังเกตคำควบกล้ำ จากแถบบัตรคำที่ผู้สอนแจกให้ ต่อไปนี้
ขวา ขา วา ครัว รัว คัว
กวาง กาง วาง ปลา ปา ลา
คำควบกล้ำแท้ | คำควบกล้ำไม่แท้ |
กราย ปลิง กว้าง | ทราย จริง สร้าง |
ผู้สอน ผู้เรียนสนทนา อภิปรายเพื่อนำไปสู่คำควบกล้ำตามประเด็น ต่อไปนี้
- ลักษณะของคำ
- การออกเสียงแต่ละคำ ฯลฯ
5. ผู้เรียนเปรียบเทียบคำควบกล้ำแท้ และไม่แท้ จากแผนภูมิว่ามีเสียงแตกต่างกันอย่างไร
6. ผู้เรียนร่วมกันสรุปลักษณะของคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้
7. ผู้เรียนแต่ละคนค้นหาคำควบกล้ำในหนังสือ และจดบันทึก
ขั้นสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน เช่น หนังสือเล่ม เล็ก แผ่นพับ ฯลฯ กลุ่มละ 1 ชิ้นงาน ดังนี้ แต่งประโยค เขียนนิทาน เขียนบทร้อยกรอง ปริศนาคำทาย
ขั้นนำเสนอผลงาน
8. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เพื่อนร่วมวิพากษ์ วิจารณ์ และปรับปรุงผลงานให้สมบูรณ์
ขั้นการวัดและประเมินผล
9. ผู้สอนและเพื่อนนักเรียนร่วมกันประเมินผลงานที่นำเสนอ
ขั้นเผยแพร่ผลงาน
10. ผู้เรียนนำเสนอผลงานจัดนิทรรศการ จัดแสดงป้ายนิเทศ นำผลงานไปอ่านตามที่ต่างๆ นำผลงานไปให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ชื่นชมหรือนำผลงานไปลงวารสารของโรงเรียน
สื่อการสอน
1. สื่อการสอน
2ใบความรู้หนังสือเรียน
3.เพลง
ตัวอย่างคำควบกล้ำแท้ หมวด ก ควบ ร
แบบทดสอบหลังเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกข้อที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นคำควบกล้ำทุกตัว
ก.ปลากรอบ กล้วย
ข.ขรุขระ จริง
ค.ครอบครัว พุทรา
ง.เศร้าโศก ต้นไทร
2. ข้อใดมีคำควบกล้วมากที่สุด
ก.เสียงนกแขวกร้องน่ากลัว
ข.บ้านเรือนสกปรกรกรุงรังดูไม่เรียบร้อย
ค.โจรผู้ร้ายขโมยแหวนเพชรแล้ววิ่งหนีไป
ง.ครอบครัวของฉันมีที่ดินกว้างขวางปลูกแตงกวาได้เงินแสนกว่า
3. ข้อใดเป้นคำควบกล้ำแท้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์
ก.ไม้จันทน์
ข.วันอาทิตย์
ค.วันจันทร์
ง.วันเสาร์
4. ข้อใดต่างจากพวก
ก.คลี่คลาย
ข.ตริตรอง
ค.ปราบปราม
ง.ศรัทธา
5. ข้อใดเป็นคำควบกล้ำไม่แท้
ก.ปรับปรุง คุณครู
ข.ประตู ประโยชน์
ค.หาดทราย อินทรี
ง.พระสงฆ์ ครวจตรา
6. ข้อใดต่างจากพวก
ก.อาศรม
ข.ปราศรัย
ค.ทรามวัย
ง.ไม้กวาด
7. ข้อใดมีคำควบกล้ำไม่แท้
ก.บัวในสระมีดอกสวยงาม
ข.ดอกไม้บานสะพรั่นในสวนหลวง ร. 9
ค.ครอบครัวฉันไปเที่ยวที่เขาดินวนา
ง.พระสงฆ์ออกบิณฑบาตทุกเช้า
8. ข้อใดต่างจากพวก
ก.แทรก
ข.พุทรา
ค.จันทรา
ง.เศร้าโศก
9. ข้อใดอ่านคำควบกล้ำไม่ถูก
ก.จริง อ่านว่า จริง
ข.ขรุขระ อ่านว่า ขรุ - ขระ
ค.ทรงศรี อ่านว่า ซง - สี
ง.แตงกวา อ่านว่า แตง กวา
10. " เขาพยายามปรับปรุงตัวเองโดยเปลี่ยนแปลงการแต่งตัวในรูปแบบใหม่ " มีคำควบกล้ำกี่คำ
ก. 1 คำ
ข. 2 คำ
ค. 3 คำ
ง. 4 คำ
ตัวอย่างแบบบันทึกการอธิบาย
ความหมายและการออกเสียงคำควบกล้ำ
(จุดประสงค์ข้อที่ 1)
(จุดประสงค์ข้อที่ 1)
ชื่อ...........................................................................ชื่อกลุ่ม.........................................
คำควบกล้ำ | บอกความหมายและ ออกเสียงได้ถูกต้อง | ผลการทำกิจกรรม | |
พอใจ | ไม่น่าพอใจ | ||
ลงชื่อ........................................................ผู้ประเมิน
ตัวอย่างแบบบันทึก
ลักษณะคำควบแท้และควบไม่แท้
(ประเมินจุดประสงค์ข้อที่ 1)
ชื่อกลุ่ม | อธิบายลักษณะของ | สรุป | หมายเหตุ | |
คำควบแท้ | คำควบไม่แท้ | |||
ลงชื่อ........................................................ผู้ประเมิน
ตัวอย่างแบบประเมินผลงานที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ
(จุดประสงค์ข้อ 3)
หัวข้อประเมิน | คะแนน | |||
ผู้ให้ เต็ม | ครู | กลุ่มตนเอง | กลุ่มเพื่อน | |
1.คำควบกล้ำที่นำเสนอเขียนถูกต้อง | ||||
2. การออกเสียงคำควบกล้ำถูกต้อง | ||||
3.ผลงานออกแบบเหมาะสมกับคำควบกล้ำ | ||||
4.ทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ | ||||
รวม |
ลงชื่อ........................................................ผู้ประเมิน
ตัวอย่างแบบประเมินผลงานการเขียนเรื่องจากจินตนาการ
ที่ | ชื่อ-สกุล | รายการประเมิน | รวม | หมายเหตุ | |||
เนื้อหาเหมาะสมกับงาน | ออกแบบชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ | การใช้ภาษาเหมาะสม | งานสะอาด เรียบร้อย | ||||
3 | 3 | 2 | 2 | 10 | |||
ใบงาน
ให้นักเรียนหาคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ร , ล , ว ให้ได้มากที่สุด
ในเวลา 3 นาที และฝึกออกเสียง
ในเวลา 3 นาที และฝึกออกเสียง
ร | ล | ว |
………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. | ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. | ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. ………………………….. …………………………... |
ชื่อ………………………………………….ชั้น…………………..โรงเรียน…………………….....................................................
ตัวอย่างสื่อ เพื่อฝึกออกเสียงคำควบกล้ำ / การสร้างคำ
1. ใช้กระดาษแข็ง เช่น กระดาษการ์ดสี ตัดเป็นแผ่น ม้วนให้เป็นรูปกรวย สำหรับสวมนิ้วมือ
2. เขียนพยัญชนะ / สระ ในกระดาษ แล้วทำไปติดที่ สวมนิ้วมือเพื่อฝึกออกเสียง
นักเรียนควรสร้างกรอบพยัญชนะ / สระ หลาย ๆ ชิ้นเพื่อฝึกการออกเสียง
แบบบันทึก
คำควบกล้ำ / คำอื่น ๆ | ประเมินด้วยตนเอง สามารถออกเสียงได้ | ||
ถูกต้อง | ไม่ถูกต้อง | ไม่แน่ใจ | |
กราบ | |||
รา | |||
ราก | |||
กร | |||
กบ | |||
งานวิจัย
นายคมธัช รัตนคช (2551)ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ ให้ได้ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ก่อนและหลังจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำควบกล้ำ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ สำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพฯ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 1 ห้องเรียนสำหรับทดลอง จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มและวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-testผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพ 80.75/80.67 และ 2) คะแนนทดสอบของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05